หลายคนเริ่มตั้งคำถาม(กับผม) ว่านิเทศศาสตร์ยังจำเป็นอยู่ไหม
ถามทั้งคนนอกวงการ ที่ลูกอยากจะเข้าวงการ
คนอยู่ในวงการเองที่เกิดความไม่มั่นใจในวงการ
และคนที่อยากจะออกจากวงการ

ผมในฐานะคนที่อยู่(มานาน)ในวงการ
เพราะจับพลัดจับผลูเข้ามาในวงการก็เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง

ขอเล่าถึงประวัติวงศ์ก่อนละกัน
ถ้าย้อนกลับไปในสมัยนั้น
นิเทศศาสตร์คืออันดับ๑ ของสายศิลป์
วงการสื่อมวลชนจะมี
วารสาร(สื่อสิ่งพิมพ์) ถือว่าเป็นพี่ใหญ่
ประชาสัมพันธ์ ก็เป็นเจ้าแม่ในองค์กรใหญ่ๆ
โฆษณา ถือว่ารายได้มากสุด
และวิทยุ/โทรทัศน์ ที่กำลังต้องการคน

ผมอยู่กองสุดท้าย ที่ทำทั้งวิทยุและโทรทัศน์
การเข้าวงการแล้วจะออกมาอยู่ข้างหน้าเวทีเป็นเรื่องยากมาก
เพราะเวทีด้านหน้ามันเล็กกว่าข้างหลังเสมอ
เว้นแต่คุณจะโดดเด่นพอที่จะแหวกที่ขึ้นมาด้านหน้าได้

ตัดภาพกลับมาที่ภาพปัจจุบันเลย
ทุกวันนี้ ใคร ก็สามารถมาอยู่ข้างหน้าได้
คุณสามารถทำงานเกี่ยวกับตัวหนังสือได้ทั้ง BLOG ทั้ง PAGE, Face, Twitter
ชอบถ่ายภาพไป IG
ชอบทีวีไป YouTube วิทยุ Podcast
วัยรุ่นหน้าใหม่ก็ไป Vlog

จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันเราทำอะไรก็ได้โดยไม่ต้อง เรียนมาก่อน ไม่ต้องอยู่ข้างหลังก่อน
มาถึงก็อยู่ข้างหน้าได้เลย เพราะทุกอย่างมีพร้อมอยู่แล้ว
รอเพียงแต่ว่าคุณมีของหรือเปล่า
ผมเห็นหลายคนประสบความสำเร็จทั้งที่ไม่ได้จบ สายนิเทศศาสตร์
บางคนอายุเกิน60 ก็หันมาทำpodcast มีรายได้เกินแสน
บางคนหน้าเหี้ยมโหด ก็ไปรีวิวร้านอาหารโด่งดัง
หน้าตาดี รีวิวอะไรก็มีชัยไปกว่าครึ่ง

นักศึกษาหลายคนที่เรียนนิเทศฯแบบไม่มีเป้าหมาย
เรียนให้จบไปก่อนแล้วค่อยไปตายเอาดาบหน้า
เพราะคิดว่าหางานทำต่อง่าย หรือคิดว่าเรียนง่าย
การต่อสู้แบบไม่มีทิศทางจึงเพลี่ยงพล้ำคนที่ไม่ได้เรียน
แต่มีเป้าหมายชัดเจน

เรียนแล้วดีอย่างไร
การเรียนเหมือนการวางรากฐาน
คุณจะรู้ว่า อย่างไร เมื่อไหร่ ที่ไหน
ผมว่าเราเกิดมาก็วิ่งกันเป็นหมดไม่ต้องเรียนวิ่ง
แต่ถ้าคุณไปเรียนวิ่ง คุณก็จะวิ่งได้ถูกต้อง
ตั้งแต่การหายใจไปจนถึงตารางการวิ่ง
ถ้าคิดว่าเราวิ่งได้การเรียนวิ่งก็ไม่จำเป็น
แต่ถ้าคิดว่ามันใช่ เรียนไปก็ได้ประโยชน์

ไม่เรียนแล้วจะทำงานในวงการนี้ได้ไหม
ผมกลับมองว่า การเรียนอย่างอื่นมา
ได้เปรียบกว่าเพราะได้รู้เพิ่มมากขึ้นอีกหนึ่งแขนง
คุณสามารถเอาสิ่งที่เรียนอย่างอื่น
มาต่อยอดกับสายนิเทศฯได้อีก

สำเร็จหรือไม่อยู่ที่ความตั้งใจมากกว่าการเรียนอะไร
ถ้าตั้งใจเรียนอะไรก็สำเร็จ

ปืน

Comments

comments

Choltib Ransibrahmanakul