สี่ตีนยังรู้พลาดนักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
เป็นภาษิตที่ผมได้ยินมานานมาก ถ้าเป็นไปได้คงไม่อยากมีใครทำผิดพลาดอยากจะทำให้มันสมบูรณ์แบบไปเสียทุกเรื่อง แต่ในความเป็นจริงแล้วความสมบูรณ์แบบมีเพียงแต่ในนิยาย และคงมีแต่เจ้าชายกับเจ้าหญิงในนิยายเท่านั้นที่ไม่เคยผิด
ความผิดนั้นมีหลายระดับว่ากันตามกฎหมาย
ผู้เยาว์กระทำความผิดไม่ร้องรับโทษ
บุคคลผู้บรรลุนิติภาวะเมื่อกระทำความผิดต้องรับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
ในบรรดาความผิดเองก็ยังแบ่งแยกย่อยลงไปอีกคือ
กระทำโดยเจตนา
กระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
กระทำโดยประมาท
กระทำการอันเป็นเหตุอุกฉกรรจ์
ความผิดแตกต่างกันการรับโทษก็จะแตกต่างกันไป
ทางศาสนาแล้วการทำผิดก็เป็นบาป
เช่น การฆ่าสัตว์เป็นบาป
แต่บาปในการฆ่าสัตว์แต่ละอย่างก็ไม่เท่ากัน
การฆ่าสัตว์ใหญ่บาปมากกว่าสัตว์เล็ก
การฆ่าสัตว์ที่มีอายุยืนบาปมากกว่าสัตว์ที่มีอายุสั้น
การฆ่าสัตว์ที่มีคุณบาปมากกว่าสัตว์ที่ไม่มีคุณ
ความยืดหยุ่นของกฎหมายและศาสนาคือ
เมื่อกระทำความผิดแล้วสำนึกผิด
ความผิดก็เป็นอันทุเลาลง
เช่นผู้กระทำผิดยอมรับสารภาพเป็นประโยชน์ต่อชั้นศาล
หรือพระสงฆ์กระทำการปลงอาบัติเมื่อไม่ได้เจตนาผิดศีล
ทั้งหมดนี้ก็จะโยงถึงความผิดเล็กน้อยที่พอจะให้อภัยได้
เพราะตามหลักปรัชญาแล้วการให้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ การให้อภัย
เรื่องน่ารักเรื่องนึงคือคนสองคนกำลังจะเดินทางไปร้านอาหารญี่ปุ่นที่ไม่เคยไป
รู้แต่ว่าอยู่ใกล้กับวัดนึง
เนวิเกเตอร์ก็เปิดแผนที่และชะโงกหน้าดูสลับไปมา
วินาทีที่ต้องตัดสินใจเลี้ยวซ้ายหรือขวา เนฯให้เลี้ยวซ้าย
แต่คนขับเลือกเลี้ยวขวาเพราะเห็นป้ายวัดเล็กๆ
แล้วก็ถึงร้านโดยสวัสดิภาพโดยเนฯนั่งเงียบๆแบบสำนึกผิดอยู่
เรื่องนี้ดูไปก็ไม่ใช่เรื่องน่าจะผิดแต่บางคนก็คิดว่ามันผิด
แต่ถ้ามองว่ามันเป็นเรื่องน่ารักมันก็จะน่ารัก
เพราะรักย่อมเข้าใจในรัก
ปืน